"น้ำท่วมเกือบทั่วประเทศ"...เป็นวิกฤตครั้งใหญ่อีกครั้งของประเทศไทย ช่วงนี้คนไทยนอนหลับกันไม่ค่อยเต็มอิ่มซักเท่าไหร่ เพราะห่วงว่าจะมาถึงบ้านเราเมื่อไหร่ แต่อย่างว่าค่ะ ไม่มีใครฝืนกฎของธรรมชาติได้ ถ้าเราดีกับเค้า เค้าก็จะดีกับเรา...
เหตุการณ์น้ำท่วมเกิดขึ้นมาหลายเดือนแล้ว เพราะฉะนั้นเปิดทีวีช่วงนี้ น้องๆ อาจจะเจอรายงานข่าวบ่อยยิ่งกว่าเพื่อนในห้องเราซะอีก บางคนอาจจะเบื่อ บางคนก็ดูแล้วตื่นเต้นวิตก แต่ พี่มิ้นท์จะบอกอะไรให้นะคะ น้องๆ สามารถเก็บเกี่ยวความรู้จากข่าวน้ำท่วมได้เพียบเลย (ตาดูทีวี มือเก็บของขึ้นที่สูงก็ยังทำได้)
วิชาสังคม
ได้ความรู้วิชานี้กันแบบเต็มๆ ทุกครั้งที่นักข่าวรายงานข่าว หน้าจอข้างหลังก็จะขึ้นแผนที่ประเทศ บางทีก็ซูมให้เห็นโซนน้ำท่วม น้องๆ ก็จะเรียนรู้ภูมิประเทศของประเทศไทยผ่านแผนที่นี่แหละ ได้รู้ว่าภาคไหนเป็นที่ต่ำ ที่สูง ในประเทศไทยมีเขื่อนไหนบ้าง มีแม่น้ำมีกี่สาย สายไหนไหลมารวมกันบ้าง ได้รู้จักจังหวัดต่างๆ รวมถึงที่สำคัญของจังหวัดนั้น เพราะสถานที่สำคัญถูกน้ำท่วมเมื่อไหร่ ก็ออกข่าวเมื่อนั้น สำหรับเด็ก กทม.ก็คงได้รู้ว่าจังหวัดอะไร อยู่รอบ กทม.บ้าง เพราะช่วงหลังๆ จะมีแผนที่น้ำท่วมรอบกรุงเทพมาให้ดู น่ากลัวมากๆ นี่กรุงเทพถูกล้อมไปด้วยน้ำหรือนี่!! เรียกได้ว่ารู้จัก "ประเทศไทย" ขึ้นเป็นกอง
คณิตศาสตร์
พวกหน่วยนับอยู่ในวิชาคณิตศาสตร์ทั้งหมด น้องๆ ก็จะได้รู้หน่วยนับของน้ำ แต่เป็นหน่วยใหญ่อย่างหลักล้าน ลบ.ซม. ไม่ใช่หน่วยลิตรเหมือนน้ำขวดได้เรียนรู้การคำนวณ น้ำไหลเท่าไหร่ ปล่อยเท่าไหร่ ผันน้ำแค่ไหนพื้นที่นี้จะรอด ฝนตกเท่านี้ปริมาณน้ำจะมีเท่านี้ เป็นต้น แม้จะไม่ได้เป็นคนนั่งคิดเอง แต่รับรองได้ว่าเรื่องคำนวณต้องซึมเข้าสมองเราแน่นอน นอกจากนี้ยังมีเรื่องความน่าจะเป็นเข้ามาด้วย น้ำขนาดนี้ พื้นที่นั้นท่วมไปแล้ว แล้วบ้านเราจะท่วมไม่ท่วม
วิทยาศาสตร์
น่าจะเป็นอีกวิชาที่ได้เกร็ดความรู้มากมาย อย่างที่เห็นชัดที่สุด คงเป็นเรื่องของฤดูกาล ปรากฏการณ์ธรรมชาติ น้ำขึ้น น้ำลง น้ำทะเลหนุน ฯลฯ ความเปลี่ยนแปลงของโลก เห็นโทษของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ดูแล้วก็อย่ามัวแต่ปลง แต่จะต้องรู้จักการวางแผน เตรียมการรับมือ ซึ่งในเรื่องการรับมือ เราก็จะเห็นแล้วว่าคุณสมบัติและความหนาแน่นของวัตถุแต่ละอย่างว่ามีเท่าไหร่ เช่น กระสอบทราย คันดิน แบบไหนมีความหนาแน่นเหมาะกับระดับน้ำขนาดไหน หรือต้องใช้ปริมาณเท่าไหร่จึงจะรับน้ำอยู่ เป็นต้น เรื่องเหล่านี้ประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งนั้น
คณิตศาสตร์
พวกหน่วยนับอยู่ในวิชาคณิตศาสตร์ทั้งหมด น้องๆ ก็จะได้รู้หน่วยนับของน้ำ แต่เป็นหน่วยใหญ่อย่างหลักล้าน ลบ.ซม. ไม่ใช่หน่วยลิตรเหมือนน้ำขวดได้เรียนรู้การคำนวณ น้ำไหลเท่าไหร่ ปล่อยเท่าไหร่ ผันน้ำแค่ไหนพื้นที่นี้จะรอด ฝนตกเท่านี้ปริมาณน้ำจะมีเท่านี้ เป็นต้น แม้จะไม่ได้เป็นคนนั่งคิดเอง แต่รับรองได้ว่าเรื่องคำนวณต้องซึมเข้าสมองเราแน่นอน นอกจากนี้ยังมีเรื่องความน่าจะเป็นเข้ามาด้วย น้ำขนาดนี้ พื้นที่นั้นท่วมไปแล้ว แล้วบ้านเราจะท่วมไม่ท่วม
วิทยาศาสตร์
น่าจะเป็นอีกวิชาที่ได้เกร็ดความรู้มากมาย อย่างที่เห็นชัดที่สุด คงเป็นเรื่องของฤดูกาล ปรากฏการณ์ธรรมชาติ น้ำขึ้น น้ำลง น้ำทะเลหนุน ฯลฯ ความเปลี่ยนแปลงของโลก เห็นโทษของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ดูแล้วก็อย่ามัวแต่ปลง แต่จะต้องรู้จักการวางแผน เตรียมการรับมือ ซึ่งในเรื่องการรับมือ เราก็จะเห็นแล้วว่าคุณสมบัติและความหนาแน่นของวัตถุแต่ละอย่างว่ามีเท่าไหร่ เช่น กระสอบทราย คันดิน แบบไหนมีความหนาแน่นเหมาะกับระดับน้ำขนาดไหน หรือต้องใช้ปริมาณเท่าไหร่จึงจะรับน้ำอยู่ เป็นต้น เรื่องเหล่านี้ประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งนั้น
ภาษาไทย
ช่วงหลังเริ่มมีศูนย์เฉพาะกิจขึ้นมา คอยดูแลและออกมาพูดแถลงสถานการณ์เป็นระยะๆ ถ้าน้องๆ ลองฟัง ก็จะได้ความรู้เกี่ยวกับระดับภาษา เห็นมั้ยว่าเค้าจะใช้ภาษาทางการในการออกสื่อ นอกจากนี้ยังได้เทคนิคการสื่อสารที่เป็นประโยชน์ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ความรู้ที่ได้โดยตรง แต่เราก็เห็นได้ประสบการณ์จากการดูข่าว จะเห็นได้ว่ามีทั้งข่าวลือ ข่าวจริง การใช้คำในการนำเสนอข่าว หรือแม้แต่คำพูดต่างๆ ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จะเห็นได้ว่าแต่ละคนจะมีวิธีการพูดที่แตกต่างกัน ผลลัพธ์มันก็แตกต่างกันนะ บางคนพูดเราเข้าใจ บางคนพูดทำไมเราถึงแตกตื่น เป็นต้น เพราะฉะนั้นเป็นประโยชน์มากๆ ถ้าเรารู้จักศึกษาเทคนิคการพูด รับรองยังไงก็ต้องใช้ในอนาคต
ภาษาอังกฤษ
ต่างประเทศเค้าก็ให้ความสนใจกับภัยพิบัติที่เกิดในประเทศไทยด้วยเหมือนกัน ดังนั้นถ้าใครได้ลองเปิดข่าวหรืออ่านข่าวภาษาอังกฤษ ก็จะได้รู้คำศัพท์ทีเกี่ยวกับน้ำท่วม ซึ่งพี่เป้ ก็ได้เขียนบทความคำศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับน้ำท่วมไว้แล้ว ลองอ่านกันดู >> คลิกที่นี่
ภาษาอังกฤษ
ต่างประเทศเค้าก็ให้ความสนใจกับภัยพิบัติที่เกิดในประเทศไทยด้วยเหมือนกัน ดังนั้นถ้าใครได้ลองเปิดข่าวหรืออ่านข่าวภาษาอังกฤษ ก็จะได้รู้คำศัพท์ทีเกี่ยวกับน้ำท่วม ซึ่งพี่เป้ ก็ได้เขียนบทความคำศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับน้ำท่วมไว้แล้ว ลองอ่านกันดู >> คลิกที่นี่
จริยธรรม
ไม่ผิดหวังจริงๆ ที่มีรายวิชานี้บรรจุในหลักสูตรกันตั้งแต่ประถม และก็สมกับคำพูดที่พูดกันเยอะมากช่วงนี้ ว่า คนไทยไม่ทิ้งกัน, น้ำ(ใจ)ท่วม เป็นต้น ก็เพราะว่าพื้นฐานคนไทยนั้นมีจิตใจที่ดี ดังนั้นก็ไม่แปลกใจเลยที่เห็นคนดีออกมาช่วยกรอกทราย ทำคันกั้นน้ำ หรือแม้แต่บริจาคเงินก็ตาม ซึ่งคุณธรรมที่หาได้จากเหตุการณ์ครั้งนี้ คือ ความมีน้ำใจ ขันติ(ความอดทน) จาคะ(การบริจาค) กรุณา(ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์) เป็นต้น และที่สำคัญน้องจากจจะต้องมีคุณธรรม จริยธรรมสำหรับเพื่อนมนุษย์แล้ว อย่าลืมคิดถึงเจ้าสัตว์เลี้ยงของเรา หรือสัตว์ตัวอื่นๆ ด้วย ยังไงก็เพื่อนร่วมโลก สัตว์ทุกตัวก็ไม่อยากตายเหมือนกัน
ทักษะ การคิดวิเคราะห์
ทุกครั้งที่นั่งดูข่าว น้องๆ สามารถฝึกคิด วิเคราะห์สาเหตุปัญหา เอ๊ะน้ำมันท่วมได้ไงนะ แล้วก็ลองหาวิธีแก้ปัญหาดู แม้เราจะไม่ได้มีส่วนตัดสินใจแก้ปัญหาระดับประเทศโดยตรง แต่ยังไงน้องๆ ก็มีสิทธิ์คิด อย่างน้อย ถ้าบ้านเราประสบปัญหาอยู่ด้วย ก็ได้คิดวิเคราะห์แล้วว่า เราควรจะทำยังไง
สรุปแล้ว จากการดูข่าวมาเป็นเดือนๆ พี่มิ้นท์ ก็ได้ความรู้ใหม่ๆ มาอื้อเลย ในทางวิชาการก็ได้ ในเรื่องการใช้ชีวิตก็ได้ด้วย อย่างน้อยก็ทำให้เรารู้จักคิดวิเคราะห์ แยกแยะเป็น รู้จักการวางแผน เตรียมตัว ว่าแบบจะรับมือยังไง หรือเมื่อเหตุการณ์ผ่านไปแล้วจะฟื้นฟูยังไง เป็นต้น เห็นมั้ยว่าการนั่งดูข่าวในแต่ละวันก็เกิดประโยชน์มหาศาล ดีไม่ดี อาจจะออกสอบก็ได้นะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น