หลุมดำ คือเทหวัตถุที่มีแรงดึงดูดมหาศาล จนสามารถดูดทุกสิ่งเข้าไปได้ ไม่เว้นแม้แต่แสง หลุมดำเกิดจากดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ที่แตกดับลง สสารที่เคยเป็นดาวนั้นจะอัดตัวลงด้วยแรงดึงดูดของตนเองลงเรื่อย จนมีมวลเป็นอนันต์ และมีขนาดเล็กว่านิวเคลียสของอะตอม ที่เรียกว่า เอกภาวะ ( Singularity )
รายละเอียด หลุมดำใหญ่ที่สุดในจักรวาล
- หลุมดำ ที่ ใหญ่ที่สุดในจักรวาล มีชื่อว่า หลุมดำเอ็มแปดสิบเจ็ด ( Black hole M87 ) อยู่ที่แกนกลางของมหาดาราจักรรูปวงรีเอ็มแปดสิบเจ็ด ( Giant elliptical Galazy M87 ) ในกลุ่มดาว Virgo
- หลุมดำ M87 มีขนาดเป็น สามพันล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์
- หลุมดำ M87 ด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์ประมาณ 18 พันล้านกิโลเมตร นั้นเทียบได้เกือบเป็นสองเท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของวงโคจร ของ ดาวพรูโต ( Pluto )
- อธิบายภาพจั่วหัว ที่เห็นเป็นลำแสงที่เห็นพุ่งออกมาจากใจกลางนี้เกิดขึ้นจากก๊าซที่หมุนรอบหลุมดำ ทำให้เกิดอิเล็กตรอนอิสระวิ่งควงสว่านไปตามเส้นแรงแม่เหล็กจนเปล่ง เป็น แสงสีน้ำเงิน ออกมา
ข้อมูลอ้างอิง หลุมดำ ที่ใหญ่ที่สุดในจักรวาล
ภาพจินตนาการแสดงอานุภาพของแรงโน้มถ่วงมหาศาลจากหลุมดำขนาดใหญ่ที่กระทำต่อดวงดาวที่เคลื่อนที่ผ่าน ซึ่งนักดาราศาสตร์สองคนชาวอเมริกันและเยอรมันได้ร่วมกันศึกษาและพบว่า หลุมดำในกาแลกซีเพื่อนบ้านเรานั้นมีมวลมากกว่าที่เคยคิดกัน 2-3 เท่า (เอเอฟพี/อีซา)
คาร์ล เจบฮาร์ดต์ (Karl Gebhardt) นักดาราศาสตร์สหรัฐฯ และ เจนส์ ธอมัส (Jens Thomas) นักดาราศาสตร์เยอรมัน อาศัยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเท็กซัส (University of Texas) สหรัฐฯ ศึกษาหลุมดำใจกลางกาแลกซีเมสซิเออร์ 87 (Messier 87) หรือเอ็ม 87 (M87) เพื่อคำนวณหาน้ำหนักของหลุมดำดังกล่าว พบว่ามีน้ำหนักถึง 6.4 พันล้านเท่าของดวงอาทิตย์เรา
สำนักข่าวเอเอฟพีระบุว่า ทั้ง 2 เผยว่า การค้นพบของพวกเขานั้นฉายความหวังในการศึกษาการเติบโตของกาแลกซี และยังอาจช่วยไขปริศนาสิ่งที่ดูขัดแย้งของควอซาร์ (quasars) กับหลุมดำที่กระตือรือร้นในการกลืนกินสสารของกาแลกซีไกลพ้น อันเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กำลังพยายามทำความเข้าใจ
การศึกษาของเจบฮาร์ดต์และธอมัสพยายามที่จะวัดมวลหลุมดำที่อยู่ใจกลางกาแลกซีเอ็ม 87 โดยทำแบบจำลองของ "ทรงกลดมืด" (dark halo) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ขยายโครงสร้างที่มองเห็นได้ของกาแลกซีในอดีต และจำกัดส่วนที่เป็นสสารมืดซึ่งมองไม่เห็นแต่มีน้ำหนักมาก
"ในอดีตเราเข้าใจมาโดยตลอดว่าทรงกลดมืดนี้มีนัยสำคัญ แต่เราไม่มีทรัพยากรเพื่อการคำนวณที่เพียงพอต่อการสำรวจมันได้" เจบฮาร์ดต์กล่าว
ทั้งนี้ ผลการคำนวณจากแบบจำลองมวลของหลุมดำในเอ็ม 87 ที่ออกมานั้น แสดงให้เห็นว่าหลุมดำมีน้ำหนักมากกว่าที่เคยประมาณไว้ 2-3 เท่า ซึ่งเป็นสิ่งที่นักดาราศาสตร์ทั้งสองไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะได้ผลเช่นนี้ และเหตุผลที่เขาเลือกกาแลกซีนี้ในการศึกษา เพราะมีความใกล้เคียงกับกาแลกซีทางช้างเผือกของเรา โดยอยู่ไกลออกไป 55 ล้านปีแสง และยังเป็นกาแลกซีที่ใช้ศึกษาการลำแสงด้วยความเร็วสูงออกมาจากใจกลางซึ่งหมุนวนอยู่รอบหลุมดำได้อีกด้วย
ด้วยปัจจัยที่กล่าวไปนั้น เจบฮาร์ดต์จึงเปรียบเทียบให้กาแลกซีเอ็ม 87 เป็นเหมือนสมอเรือในการศึกษาหลุมดำที่มีมวลยิ่งยวด และการศึกษาใหม่นี้ยังชี้ให้เห็นว่ามวลของหลุมดำอื่นๆ ในกาแลกซีขนาดใหญ่ถูกประเมินว่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และด้วยข้อสรุปเช่นนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความเข้าใจพื้นฐานของกฎเชิงกายภาพในอวกาศ ให้นักวิทยาศาตร์สำรวจหลุมดำและศึกษาว่ากาแลกซีเติบโตขึ้นได้อย่างไร
ควอซาร์จะเปล่งแสงสว่างอย่างยิ่งพร้อมทั้งปลดปล่อยรังสีออกมาอย่างท่วมท้นตามสสารที่ผ่านขอบฟ้าเหตุการณ์ของหลุมดำ ซึ่งไม่มีสิ่งใดจะเล็ดลอดออกมาได้ แม้กระทั่งแสง ซึ่งเจบฮาร์ดต์กล่าวว่ามีปัญหาที่ท้าทายมายาวนาน เกี่ยวกับหลุมดำที่มีมวลถึงหมื่นล้านเท่าของดวงอาทิตย์ แต่ในกาแลกซีของเรานั้นไม่มีหลุมดำที่มีมวลมากขนาดนั้นให้เห็นได้ ซึ่งมีความแคลงใจว่ามวลที่เคยคำนวณได้นั้นอาจจะผิดพลาด และปัญหาจะหายไปหากมวลของกาแลกซีเพิ่มขึ้นอีก 2-3 เท่า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น