วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

รู้ไหมว่า ... แผ่นดินไหวญี่ปุ่นทำโลกเปลี่ยนไปอย่างไร




แบบจำลองแสดงความโน้มถ่วงที่พื้นผิวโลก สีแดงคือส่วนที่มีความโน้มถ่วงมาก ขณะที่พื้นที่สีฟ้ามีความโน้มถ่วงต่ำ (ESA/HPF/DLR)
ผ่านมา 1 ปีกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 9.0 แมกนิจูด จนเกิดคลื่นยักษ์สึนามิที่ชายฝั่งตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น นอกจากจะส่งผลโดยตรงกับพื้นที่และผู้คนในแถบนั้นแล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวยังส่งผลต่อโลกของเราอีกด้วย 
      
       ผลกระทบดังกล่าวไม่เพียงแค่แผ่ระนาบไปตามพื้นผิวโลก ยังดำดิ่งลึกลงไปถึงใต้พื้นทะเล และพุ่งแหวกชั้นบรรยากาศสูงขึ้นไปอีก ซึ่ง OurAmazingPlanet ได้รวบรวมข้อมูลไว้ว่าแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ญีปุ่น ส่งผลอะไรเกิดขึ้นต่อโลกเราบ้าง


      
       1.วันสั้นลง 
      
       หลังจากเกิดเหตุแล้ว มีการตรวจพบว่า แผ่นดินไหวไปเร่งการหมุนของโลก ดังนั้นจึงทำให้โลกหมุนเร็วขึ้น ส่งผลให้เวลาหายไปวันละ 1.8 ไมโครวินาที (1 ในล้านส่วนวินาที)
      
       ริชาร์ด กรอส (Richard Gross) นักธรณีฟิสิกส์ ห้องปฏิบัติการจรวดขับดัน ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (NASA's Jet Propulsion Laboratory in Pasadena, Calif.) เป็นผู้คำณวนพบเวลาที่หายไป โดยบอกว่า ที่โลกหมุนเร็วขึ้น เพราะมวลของโลกเกิดการกระจายตัวออกไป หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว
      
       2. สนามโน้มถ่วงโลกเปลี่ยนไป
      
       แผ่นดินไหวครั้งนี้ทรงพลังมาก จนทำให้สนามโน้มถ่วงโลกในบริเวณนั้นเบาบางลงไป ซึ่งดาวเทียมเกรซ (Gravity Recovery and Climate Experiment: GRACE) ได้ตรวจจับ และพบว่าสนามโน้มถ่วงบริเวณนั้นอ่อน หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว
      
       3 ชั้นบรรยากาศสะเทือน
      
       แผ่นดินไหวขนาดยักษ์ไม่ใช่แค่เขย่าผิวโลก แต่ยังสะเทือนถึงชั้นบรรยากาศ
      
       ผลวิจัยชี้ว่า การเคลื่อนไหวที่พื้นผิวและสึนามิ ก่อให้เกิดคลื่นพุ่งสู่ชั้นบรรยากาศ โดยแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นก็พบแรงอนุภาคคลื่นที่พุ่งสูงขึ้นไปถึงชั้นไอโอโนสเฟียร์ ด้วยความเร็วประมาณ 800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยนักวิทยาศาสตร์ตรวจพบความหนาแน่นของอิเล็กตรอนที่ชั้นดังกล่าว หลังจากเกิดแผ่นดินไหว 7 นาที นับว่าเป็นคลื่นพลังที่ใหญ่กว่าตอนเกิดแผ่นดินไหวที่สุมาตราเมื่อปี 2004 ถึง 3 เท่า

      
       4 ภูเขาน้ำแข็งทะลาย 
      
       ผลกระทบไม่ได้เกิดขึ้นแค่ชายฝั่งทะเล และพื้นที่ศูนย์กลางแผ่นดินไหวเท่านั้น แต่ความเสียหายสะเทือนไปไกลถึงภูเขาน้ำแข็งซัลซ์บอร์เกอร์ ที่มหาสมุทรแอนตาร์ติกา (Antarctica's Sulzberger) ซึ่งดาวเทียมสามารถตรวจจับคลื่นสนามเข้ากระแทก จนแตกออกมาเป็นก้อนน้ำแข็ง หลังจากเกิดแผ่นดินไหวไปแล้ว 18 ชั่วโมง
      
       5 ธารน้ำแข็งไหลเร็วขึ้น 
      
       ห่างออกไปจากชายฝั่งญี่ปุ่นนับพันกิโลเมตร คลื่นแผ่นดินไหวส่งผลต่อการไหลของธารน้ำแข็งวิลลานส์ (Whillans glacier) ในแอนตาร์ติกาให้เร็วขึ้นชั่วครู่ ธารน้ำแข็งนั้นปกติจะไหลเอื่อย เป็นทางเดินของเศษน้ำแข็งจากภายในทวีปออกสู่ทะเล ซึ่งสถานีจีพีเอสที่ขั้วโลก พบการเดินทางของน้ำแข็งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงเวลานั้น
      
       6 แผ่นดินไหวขนาดเล็ก แพร่กระจายทั่วโลก 
      
       แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ยังคงมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาเป็นระยะ ไม่ใช่แค่เฉพาะในพื้นที่ศูนย์กลางเท่านั้น แต่ยังมีหลักฐานว่า แผ่นดินไหวญี่ปุ่นส่งผลให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กรอบโลก และส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเขตแผ่นดินไหว เช่น ไต้หวัน, อลาสกา และใจกลางแคลิฟอร์เนีย โดยเหตุการณ์เหล่านี้จะมีขนาดไม่เกิน 3.0
      
       อย่างไรก็ดี ยังมีแผ่นดินไหวบางเหตุการณ์ที่เกิดในพื้นที่ที่ไม่อยู่บนแผ่นเปลือกโลก อย่างกลางเนบราสกา, อาร์คันซัส หรือใกล้กับปักกิ่ง และยังพบกันสั่นไหวในคิวบา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์หวังว่าความเชื่อมโยงจากเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้สามารถเข้าใจวิธีการเกิดและผลกระทบของแผ่นดินไหวได้มากขึ้น
      
       7 พื้นทะเลแยก 
      
       แน่นอนว่าแผ่นดินไหวใหญ่ขนาดนี้ ย่อมต้องเกิดรอยแยก และโดยเฉพาะที่พื้นทะเลบริเวณชายฝั่งโตโกกุ ของญี่ปุ่นจนเป็นเหตุให้เกิดสึนามิตามมา หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวได้ 1 เดือน เรือดำน้ำได้ลงไปวัดรอยแยกที่พื้นทะเล พบว่ามีความกว้างถึง 1-3 เมตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น